Friday, June 6, 2014

ตำนานรักของทหารอังกฤษกับแม่พระสมุนไพร (2/2)

       กลับมาอย่างว่องไวด้วยภาคจบของ 'ตำนานรักของทหารอังกฤษกับแม่พระสมุนไพร' คอนแรกผมแพลนไว้ว่าจะเขียนอีกภายในอีกสัปดาห์ แต่ด้วยความเป็นศิลปินสุดกู่ของผม ผมควรที่จะเขียนต่อในขณะที่ไฟยังติด ถ้าเกิดอารมณ์หมดแล้ว ต่อให้เขี่ยยังไงก็คงไม่ลุกแน่ ตอนนี้จะเป็นภาคต่อจากโพสที่แล้ว เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาเธอ(โทนิค) ว่ามีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์โลกอย่างไร? เค้า(จิน)และเธอ(โทนิค)พบรักกันที่ไหน? และอย่างไร? ก่อนที่จะเวิ่นเว้อมากจนเกินไป โปรดติดตามต่อกันได้เลยครับ
       
      ส่วนผสมสำคัญของโทนิคคือเปลือกไม้ของต้นซินโคนา(Cinchona bark) ในช่วงนั้นโครมาลาเลียกำลังระบาดหนัก ประชาชนทั้งโลกเจ็บป่วยล้มตาย แต่ในที่สุดเกมก็เปลี่ยน ต้นซินโคนาเป็นพืชพิ้นบ้านของชาวเปรู พวกเขาใช้เปลือกไม้รักษาอาการเจ็บคอ และลดไข้ หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเปรูตกเป็นเมืองขึ้นของสเปน จึงทำให้พวกยุโรปรู้จักต้นซินโคนา และในช่วงปีคศ.1650 นักบวชโรมันแคทอลิกได้ค้นพบวิธีสกัดสารควินิน(Quinine)ซึ่งมาจากเปลือกซินโคนา สารควินินสามารถรักษาโรคมาลาเรีย ดังนั้นแววตาของทั่งโลกได้จับจ้องไปที่สาวน้อยซินโคนาภายในระยะเวลาไม่นาน

   
รูปชาวเปรูยื่นกิ่งซินโคนาให้กับพวกยุโรป


        ควินินเปล่าๆมีรสขมมาก ดังสุภาษิตว่าไว้ หวานเป็นลม....ขมไม่ใช่คนพาหวานไปส่งโรงพยาบาลเพราะ ขมเป็นยา (ยังไงก็จะต้องแอบเอามุขควายมาแทรกให้ได้) ในปีคศ.1825 ทหารอังกฤษที่ประจำอยู่ที่อินเดียเอาควินินมาผสมกับน้ำตาล มะนาว และโซดา เพื่อที่จะทำให้กินง่ายขึ้น และแล้ว นางเอกของเรื่องก็ได้กำเนิด โทนิค สาวสัญชาติอินเดีย เชื้อชาติอังกฤษ



เปลือกซินโคนา ifood.tv

       ไม่ว่าจะที่ไหน เมื่อไร มันจะต้องมีไอ้คนพิเรน ชอบจับเอาเพะมาชนแกะ (ซึ่งความหมายก็ไม่ได้อธิบายกับเหตุการ แต่มันก็ทำให้เราเห็นภาพว่าพยายามเอาสองสิ่งมารวมกัน) จินและโทนิคก็เลยถูกคลุมถุงชนเป็นคู่กันจนถึงปัจจุบันนี้ (อ่านมาตั้งนาน.....ไม่เห็นโรแมนติกเลย) ความนิยมของจินและโทนิคแพร่กระจายไวมากราวกับไฟป่าในหน้าแล้งโดยเฉพาะในหมู่ชาวอังกฤษและชาวดัตช์ บ้างว่าต้นซินโคนาเคยเกือบสูญพันธ์เพราะคนดื่มจินแอนด์โทนิคเยอะเกินไป

เปลือกซินโคนาแบบบดพร้อมที่จะเอาไปต้มน้ำ (รูปจาก luminescents)
   
        แต่เรื่องราวใช่จะจบเพียงแค่นั้น ในช่วงปี 1680 พ่อค้าชาวอังกฤษได้แอบยักยอกเมล็ดกลับไปขายที่ลอนดอน จำนวนมากก็เล็ดลอดไปประเทศเนเธอร์แลนด์(ดัตช์) ในขณะนั้น อินโดนีเซียอยู่ในภายใต้อณานิคมของชาวดัตช์ ประจวบเหมาะที่ภูมิอากาศของประเทศเปรูและอินโดนีเซียคล้ายคลึงกัน ในเวลาไม่นาน อินโดนีเซียกลายเป็นประเทศส่งออกควินินมากที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม ทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา

       ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้ยึดอินโดนีเซีย อีกทั้งรัสเซียซึกคลังเก็บซินโคนาที่อัมสเตอร์ดาม ทำให้ฝั่งสหภาพตกเป็นรอง ยังดีที่อเมริกาได้คิดค้นวิธีทำควินินแบบสังเคราะห์ ทำให้สหภาพรอดพ้นวิกฤติไข้มาลาเรีย

       ในช่วงปี 1930 บริษัทโทนิคหันมาโปรโมทโทนิคในนามของส่วนผสมของค๊อกเทล จากที่เคยใช้เป็นยา ดังนั้น ส่วนผสมของควินินในโทนิคเหลือน้อยมาก ซินโคนาแทบไม่ได้เป็นส่วนผสมของน้ำโทนิคอีกต่อไป อีกทั้งน้ำโทนิคสมัยนี้ยังใส่น้ำเชื่อมที่ทำมาจากข้าวโพด ซึ่งมีสารฟรุกโทสสูง ฟรุกโทสมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง1.3เท่า ดังนั้น คนที่เคยดื่มจินแอนด์โทนิคเยอะเกินไปในหนึ่งคืนอย่างผม จะเข้าใจดีว่าเช้าวันถัดไปอาจรู้สึกแฮงค์และปวดหัวได้ แต่โชคยังเข้าข้างเราอยู่ ที่ยังมีบริษัทบางบริษัทที่ยังใช้ควินินที่ได้มาจากธรรมชาติเช่น Fever Tree และ Q Tonic







     












         และนี่ก็คือตำนานรักข้ามศตวรรศของจินและโทนิค คราวหน้า หากคุณได้มีจินแอนด์โทนิคอยู่ในมือ อย่าลืมนึกถึงตำนานบทนี้

       และโพสหน้าผมจะเขียนถึงจินชนิดต่างๆเพื่อเป็นการเกรินถึงตำนานตอนต่อไป......ขอบคุณครับที่ติดตาม สวัสดีครับ   

No comments:

Post a Comment