Thursday, June 19, 2014

รับกระแสบอลโลก

      ตอนแรกผมจะเขียนถึงเรื่องสไตล์ของจินกันต่อ แต่เนื่องจากกระแสบอลโลก ทำให้ผมต้องพักเรื่องจินไปก่อน วันนี้ ผมจะพาคุณท่องบราซิลในแบบของผม

       นอกจากฟุตบอลแล้ว ชาวบราซิลก็ได้ชื่อเรื่องการปาร์ตี้เหมือนกัน และสุราประจำชาติของพวกเขาคือ "คาชาซ่า (Cachaca)" คาชาซ่าเป็นสุราที่กลั่นมาจาอ้อย จำพวกเดียวกับเหล้ารัม(Rum) 

       ตามกฎหมายของประเทศบราซิล คาชาซ่าจะต้องมาจากการหมักจากน้ำอ้อย(รัมบางชนิดทำจากกากน้ำตาล) และแอลกอฮอล์ดีกรีจะต้องอยู่ระหว่าง 38%-54%  สามารถที่เพิ่มน้ำตาลให้มีรสหวานขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกิน6กรัม หากจะใส่น้ำตาลเกิน จะถูกแบ่งไปเป็นจำพวกคาชาซ่าแบบหวาน(Sweet Cachaca) คาชาซ่าจะต้องมาจากประเทศบราซิลเท่านั้น แต่ว่าไม่ใช่ว่าคนทั่วทั้งประเทศจะทำคาชาซ่ากัน คาชาซ่าผลิตจากฝั่งตะวันตก(ฝั่งติดมหาสมุธรแอตแลนติก)เท่านั้น และอ้อยไม่สามารถโตได้ดีในป่าอเมซอนด้วย กลิ่นของคาชาซ่าเหมือนอ้อยมาก แต่อย่าให้กลิ่นที่หอมหวนลวงตาคุณ เพราะถ้าดมเพียงอย่างเดียว มันอาจจะทำให้คุณลืมตัว กระดกขวดรวดก็ได้ ส่วนรสชาติ อาจแตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าจะหมักนานเท่าไร หมักกับอะไร 


       เครื่องดื่มประจำชาติของบราซิลคือ ไคพิรินย่า(Caipirinha) เมื่อสองปีก่อน เมื่อสองปีก่อนที่ผมกลับไปเที่ยวไทย ผมได้เห็นค๊อกกเทลชื่อ ไคพิโรสก้า(Caipiroska) ผมเชื่อว่าหลายๆคนอาจะได้เห็นผ่านตากันบ้าง ไคพิโรสก้าถูกดัดแปลงมาจากไคพิรินย่าโดยเปลี่ยนจากใส่วอดก้าแทนคาชาซ่า ให้ตายยังไงผมก็เลือกที่จะดื่มไคพิรินย่า เพราะคาชาซ่าเป็นชนิดสุราที่น่าสนใจมากกว่าวอดก้าเยอะ

       ไคพิรินย่าเป็นค๊อกเทลที่ดื่มแล้วสดชื่น ดื่มได้เรื่อยๆ ดื่มได้ทุกเวลา ทุกเพศ ทุกวัย(หลังจากสามารถดื่มได้ตามกฎหมาย) เรียบง่าย มีส่วนผสมเพียง3อย่างเท่านั้น นั้นคือ คาชาซ่า,มะนาว,และน้ำตาลทราย บางครั้งที่ผมไปชิมค๊อกเทลในร้านต่างๆผมเห็นค๊อกเทลบางตัวมีส่วนผสมอยู่ประมาณสิบกว่าอย่าง เรียกได้ว่าส่วนผสมที่อธิบายค๊อกเทลอยู่ในเมนูนี่แทบจะเอาไปเขียนเรียงความกันได้อยู่แล้ว ผมก็ไม่เข้าใจว่าประสาทรับรสของคนเราจะเหนือถึงกับขั้นรับรสชาติของส่วนผสมทั้งสิบอย่างในอึกเดียวได้จริงๆหรือ ผมบ่นมามากพอแล้ว กลับเข้าเรื่องดีกว่า ไคพิรินย่ามีส่วนผสมเพียง3อย่าง(ไม่รวมน้ำแข็ง) ทุกส่วนผสมจึงมีบทบาทอย่างชัดเจน คาชาซ่าเปรียบเป็นตัวเอกของเรื่องนี้ มะนาวกับรัมเข้ากันได้ดีอย่างกับสายฝนและคนเหงา และยังทำให้ความแรงและรสแอลกอฮอล์จางลง น้ำตาลทำให้รสชาติกลมกม่อมมากขึ้น ฟังดูเป็นอะไรที่ง่ายมาก...แต่มันมีอะไรมากกว่านั้น เพราะถ้าส่วนผสมอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไปหรือน้อยเกินไป มันจะทำให้ไคพิรินย่าขาดความสมดุลได้หรือถ้าเป็นภาษาชาวบ้านก็คงเรียกว่าขาดความอร่อย

       ผมมีกฎเหล็กสำหรับไคพิรินย่าอยู่ 4 ข้อ 
ข้อที่1: ไคพิรินย่าจะต้องใช้มะนาวสด หั่นเป็นซีกๆแล้วตำไปกับน้ำตาลเพื่อให้น้ำตาลละลาย น้ำมะนาวคั้นหรือแบบขวดสำเร็จ...ไม่เวิร์ค(โอ้ อย่าให้ได้เข้าเรื่องน้ำมะนาวในขวดนะ ยาวแน่) เพราะว่าผลไม้พวกตระกูลไซทรัส(cirtus) จำพวกมะนาว, เลม่อน, ส้มชนิดต่างๆจะมีน้ำมันอยู่ และเวลาเราตำมัน มันจะหลั่งน้ำมันที่มีกลิ่นหอมออกมากับไคพิรินย่า

ข้อที่2: มะนาวที่ใช้ควรถูกหั่นแกนขาวออกก่อน แกนขาวมีรสขม มันจะทำให้ไคพิรินย่าขม

ข้อที่3: ตำด้วยความถนุถนอม อย่าตำพร้อมกับน้ำแข็ง(เด็ดขาด) ผมเห็นบาร์เทนเดอร์ในหลายๆร้านตำมะนาวพร้อมกับน้ำแข็ง ผมไม่เห็นด้วนกับเทคนิคนี้อยู่หลายเหตุผล 1.ไม่สะอาด  2.เวลาตำมะนาวที่อยู่ท่ามกลางน้ำแข็ง จะมีซักกี่ทีที่เราจะตำโดนมะนาวเต็มๆ ตามกฎข้อหนึ่ง เราต้องการน้ำมันและอโรม่าจากมะนาว เพราะฉะนั้น ค่อยๆบรรจงตำ/บี้มะนาวอย่างถนุถนอมพร้อมกับน้ำตาล ให้น้ำมะนาวละลายน้ำตาลเอง


ข้อที่4: ไม่ต้องกรอง เพราะความอร่อยอยู่ที่การที่มีเนื้อมะนาวอยู่ในแก้ว 

       หาความสมดุลระหว่างความหวานและความเปรี้ยวยังไง? มะนาวแต่ละฤดูแต่ละลูกความเปรี้ยว/จำนวนน้ำในมะนาวก็ไม่เท่ากัน แต่คุณสามารถเดาได้จากการหั่นครึ่ง ถ้ามะนาวที่สุขภาพดี ผมใช้ครึ่งลูก(4ซีก)ต่อน้ำตาล 4 ช้อนชา ถ้ามะนาวดูชืดๆไม่มีน้ำก็ใส่เพิ่มไปซักซีกสองซีก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการชิม ชิมดูว่ามันหวานไปรึเปล่า?เปรี้ยวไปรึเปล่า? ถ้าหวานไป-บีบมะนาวเพิ่ม ถ้าเปรี้ยวไป-เติมน้ำเชื่อม ถ้าเกิดว่าเราชิมมันอร่อย ผู้ดื่มก็จะสำผัสได้ว่ามันอร่อยเหมือนกัน ผมการันตี(ยกเว้นถ้า
ลิ้นของคุณเพี้ยน)




       ไคพิรินย่า (Caipirinha)
คาชาซ่า 2 ออนซ์
มะนาวครึ่งลูก หั่นเป็น4ซีก
น้ำตาลทราย 4 ช้อนชา
   ตำมะนาวกับน้ำตาลให้น้ำตาลละลาย ใส่คาชาซ่า ตามด้วยน้ำแข็ง เขย่า แทใส่แก้ว Rock glass พร้อมน้ำแข็ง
     
       และแล้ว คุณก็ได้ไคพิรินย่า ในเกมหน้าบราซิลเล่น อย่าลืมเชียร์ด้วยไคพิรินย่า 
       

Friday, June 6, 2014

ตำนานรักของทหารอังกฤษกับแม่พระสมุนไพร (2/2)

       กลับมาอย่างว่องไวด้วยภาคจบของ 'ตำนานรักของทหารอังกฤษกับแม่พระสมุนไพร' คอนแรกผมแพลนไว้ว่าจะเขียนอีกภายในอีกสัปดาห์ แต่ด้วยความเป็นศิลปินสุดกู่ของผม ผมควรที่จะเขียนต่อในขณะที่ไฟยังติด ถ้าเกิดอารมณ์หมดแล้ว ต่อให้เขี่ยยังไงก็คงไม่ลุกแน่ ตอนนี้จะเป็นภาคต่อจากโพสที่แล้ว เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาเธอ(โทนิค) ว่ามีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์โลกอย่างไร? เค้า(จิน)และเธอ(โทนิค)พบรักกันที่ไหน? และอย่างไร? ก่อนที่จะเวิ่นเว้อมากจนเกินไป โปรดติดตามต่อกันได้เลยครับ
       
      ส่วนผสมสำคัญของโทนิคคือเปลือกไม้ของต้นซินโคนา(Cinchona bark) ในช่วงนั้นโครมาลาเลียกำลังระบาดหนัก ประชาชนทั้งโลกเจ็บป่วยล้มตาย แต่ในที่สุดเกมก็เปลี่ยน ต้นซินโคนาเป็นพืชพิ้นบ้านของชาวเปรู พวกเขาใช้เปลือกไม้รักษาอาการเจ็บคอ และลดไข้ หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเปรูตกเป็นเมืองขึ้นของสเปน จึงทำให้พวกยุโรปรู้จักต้นซินโคนา และในช่วงปีคศ.1650 นักบวชโรมันแคทอลิกได้ค้นพบวิธีสกัดสารควินิน(Quinine)ซึ่งมาจากเปลือกซินโคนา สารควินินสามารถรักษาโรคมาลาเรีย ดังนั้นแววตาของทั่งโลกได้จับจ้องไปที่สาวน้อยซินโคนาภายในระยะเวลาไม่นาน

   
รูปชาวเปรูยื่นกิ่งซินโคนาให้กับพวกยุโรป


        ควินินเปล่าๆมีรสขมมาก ดังสุภาษิตว่าไว้ หวานเป็นลม....ขมไม่ใช่คนพาหวานไปส่งโรงพยาบาลเพราะ ขมเป็นยา (ยังไงก็จะต้องแอบเอามุขควายมาแทรกให้ได้) ในปีคศ.1825 ทหารอังกฤษที่ประจำอยู่ที่อินเดียเอาควินินมาผสมกับน้ำตาล มะนาว และโซดา เพื่อที่จะทำให้กินง่ายขึ้น และแล้ว นางเอกของเรื่องก็ได้กำเนิด โทนิค สาวสัญชาติอินเดีย เชื้อชาติอังกฤษ



เปลือกซินโคนา ifood.tv

       ไม่ว่าจะที่ไหน เมื่อไร มันจะต้องมีไอ้คนพิเรน ชอบจับเอาเพะมาชนแกะ (ซึ่งความหมายก็ไม่ได้อธิบายกับเหตุการ แต่มันก็ทำให้เราเห็นภาพว่าพยายามเอาสองสิ่งมารวมกัน) จินและโทนิคก็เลยถูกคลุมถุงชนเป็นคู่กันจนถึงปัจจุบันนี้ (อ่านมาตั้งนาน.....ไม่เห็นโรแมนติกเลย) ความนิยมของจินและโทนิคแพร่กระจายไวมากราวกับไฟป่าในหน้าแล้งโดยเฉพาะในหมู่ชาวอังกฤษและชาวดัตช์ บ้างว่าต้นซินโคนาเคยเกือบสูญพันธ์เพราะคนดื่มจินแอนด์โทนิคเยอะเกินไป

เปลือกซินโคนาแบบบดพร้อมที่จะเอาไปต้มน้ำ (รูปจาก luminescents)
   
        แต่เรื่องราวใช่จะจบเพียงแค่นั้น ในช่วงปี 1680 พ่อค้าชาวอังกฤษได้แอบยักยอกเมล็ดกลับไปขายที่ลอนดอน จำนวนมากก็เล็ดลอดไปประเทศเนเธอร์แลนด์(ดัตช์) ในขณะนั้น อินโดนีเซียอยู่ในภายใต้อณานิคมของชาวดัตช์ ประจวบเหมาะที่ภูมิอากาศของประเทศเปรูและอินโดนีเซียคล้ายคลึงกัน ในเวลาไม่นาน อินโดนีเซียกลายเป็นประเทศส่งออกควินินมากที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม ทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา

       ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้ยึดอินโดนีเซีย อีกทั้งรัสเซียซึกคลังเก็บซินโคนาที่อัมสเตอร์ดาม ทำให้ฝั่งสหภาพตกเป็นรอง ยังดีที่อเมริกาได้คิดค้นวิธีทำควินินแบบสังเคราะห์ ทำให้สหภาพรอดพ้นวิกฤติไข้มาลาเรีย

       ในช่วงปี 1930 บริษัทโทนิคหันมาโปรโมทโทนิคในนามของส่วนผสมของค๊อกเทล จากที่เคยใช้เป็นยา ดังนั้น ส่วนผสมของควินินในโทนิคเหลือน้อยมาก ซินโคนาแทบไม่ได้เป็นส่วนผสมของน้ำโทนิคอีกต่อไป อีกทั้งน้ำโทนิคสมัยนี้ยังใส่น้ำเชื่อมที่ทำมาจากข้าวโพด ซึ่งมีสารฟรุกโทสสูง ฟรุกโทสมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง1.3เท่า ดังนั้น คนที่เคยดื่มจินแอนด์โทนิคเยอะเกินไปในหนึ่งคืนอย่างผม จะเข้าใจดีว่าเช้าวันถัดไปอาจรู้สึกแฮงค์และปวดหัวได้ แต่โชคยังเข้าข้างเราอยู่ ที่ยังมีบริษัทบางบริษัทที่ยังใช้ควินินที่ได้มาจากธรรมชาติเช่น Fever Tree และ Q Tonic







     












         และนี่ก็คือตำนานรักข้ามศตวรรศของจินและโทนิค คราวหน้า หากคุณได้มีจินแอนด์โทนิคอยู่ในมือ อย่าลืมนึกถึงตำนานบทนี้

       และโพสหน้าผมจะเขียนถึงจินชนิดต่างๆเพื่อเป็นการเกรินถึงตำนานตอนต่อไป......ขอบคุณครับที่ติดตาม สวัสดีครับ